fbpx

สถาบันกายจิต
ศูนย์รวมหลักสูตรฝึกอบรม

แบ่งปันความรู้ : 

แบ่งปันความรู้ : 

OKRs กับ องค์การในแบบ Ambidextrous organization จะช่วยสร้างการเติบโตและยั่งยืนได้อย่างไร ?

Krissana Bulan
ผศ.ดร กฤษณะ บุหลัน
O’Reilly, C. A. III. and M. L. Tushman. 2004. The ambidextrous organization. Harvard Business Review (April): 74-81. ได้ตีพิมพ์บทความแนวคิดองค์การแบบ Ambidextrous หรือองค์การแบบที่มีทั้งการสร้าง Productivity and Innovation ควบคู่กัน โดย O’Reilly, C. A. III. and M. L. Tushman. 2004 ได้เผยแพร่แนวคิดนี้มาเกือบ 20 ปี นับว่าทันสมัยมาก และเป็นประโยชน์มากต่อการนำมาใช้ในยุคนี้ซึ่งต้องมีนวัตกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนนอกจากการสร้างผลิตภาพ
จริงๆ เรื่องของ Ambidexterity ไม่ใช่เรื่องใหม่ในวงวิชาการที่ผมคุ้นเคย เพราะสมัยนั้นช่วงผมทำ Thesis ปริญญาเอก กว่า 15 ปีก่อน โดยกำลัง Review Literature ด้าน Organization Management แล้วสะดุดตากับคำนี้ Ambidextrous ซึ่งอ่านออกเสียงว่า แอมบิเดค’ เทริส ซึ่งแปลว่า การใช้มือได้ดีทั้งสองข้าง หรือถนัดทั้ง 2 มือ
จึงทำให้ผมนึกถึงการเล่นสนุกเกอร์ของผมที่ในช่วงเล่นในสมัยกว่า 30 ปีก่อน ผมฝึกเล่นได้จนถนัดทั้ง 2 มือ แต่ก็เลือกที่จะเล่นด้วยมือขวา
ในระยะหลัง จะเริ่มเห็นความตื่นตัวในเรื่องนี้มากขึ้น หลักสูตรพัฒนาผู้บริหารของสถาบันชื่อดังทั้งในอเมริกาและยุโรป ต่างมีหัวข้อในเรื่องของ Ambidexterity เข้ามามากขึ้น ทั้งในการออกแบบองค์กรให้เป็น Ambidextrous Organization ที่สามารถมุ่งเน้นสร้างความสมดุลระหว่างประสิทธิภาพในระยะสั้นกับการเติบโตในระยะยาว หรือเรื่องของ Ambidextrous CEO ที่จะต้องมุ่งเน้นทั้งเรื่องการเติบโตและความมั่นคงในธุรกิจหลัก (Core business) กับการแสวงหาโอกาสในการเติบโตจากธุรกิจใหม่ๆ
หากนำมาใช้กับการบริหารองค์การก็คือทำได้ดีทั้ง การสร้าง Productivity และ Innovation จริงแนวคิดนี้สอดคล้องกับ Disruptive Innovation ของ Prof.Clayton ที่กล่าวถึงองค์การที่เกิดสภาวะ Dilemma คือ Sustaining Innovation and Disruptive Innovation คือ การที่องค์กรจะเลือกแบบไหน หรือเลือกทั้ง 2 แบบโดยอาศัยนวัตกรรมช่วยยกระดับและขับเคลื่อน
ด้วยเหตุนี้ การที่องค์การของไทยส่วนใหญ่มักเป็น SMEs มากกว่า Startup การใช้ KPI เพื่อควบคุมให้เกิด Productivity จึงยังสำคัญขณะที่ Innovation ก็สำคัญแต่จะเกิดได้ต้องอาศัย Creativity ของคนในองค์กร ฉะนั้น OKRs (Objective and Key Results) จึงสำคัญ เพราะเน้นไปที่ผลลัพธ์มากกว่ากระบวนการ
จากภาพ Org Chart จะเห็นว่าองค์การที่มีการปรับให้เป็น Ambidextrous organization จะมี Existing Business และ Emerging Business คือ มีทั้งธุรกิจเก่า และ ธุรกิจใหม่ ด้วยเหตุนี้การใช้ KPI ผสมไปกับ OKRs จึงเหมาะสมกับองค์การในลักษณะนี้อย่างมาก
ผมได้ใช้แนวทางนี้มากว่า 10 ปี แต่ไม่ได้พูดถึงในเชิง Technical Term แต่ในช่วงหลัง COVID จากผลการให้คำปรึกษาหลายบริษัท รวมถึงบริษัทของตนเองที่นำมาใช้พบว่า Ambidextrous organization จะมี Existing Business และ Emerging Business ค่อนข้างเหมาะกับบริบทแบบไทย
(Ref: O’Reilly, C. A. III. and M. L. Tushman. 2004. The ambidextrous organization. Harvard Business Review (April): 74-81)
สมัครเรียน OKRs
E-mail: info.guyjit@gmail.com